335ed000236@dei.ac.th

0653349370

 

วันที่ 8 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ” (International Literacy Day: ILD)

 กศน. อำเภอเลิงนกทา   08-09-2566 
วันที่ 8 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ” (International Literacy Day: ILD)  2404


วันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day)

องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้กำหนดให้วันที่ 8 กันยายน ของทุกปีเป็น "วันการรู้หนังสือสากล" หรือ International Literacy Day เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ
 

ประวัติความเป็นมาของวันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day)

เมื่อปี พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้กำหนดให้วันที่ 8 กันยายน ของทุกปีเป็น "วันการรู้หนังสือสากล" หรือ International Literacy Day เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรู้หนังสือและการศึกษาสำหรับการพัฒนาบุคคล ชุมชน และสังคมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการจัดงานฉลองวันดังกล่าวจัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967)

ความสำคัญของวันการรู้หนังสือสากล

"วันการรู้หนังสือสากล" หรือ International Literacy Day มีเป้าหมายหลักเพื่อเน้นความสำคัญของการรู้หนังสือ (Literacy) ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชน รวมถึงผลักดันเจตนารมณ์การสร้างสังคมที่มีอัตราการรู้หนังสือและมีความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น แม้จะมีการพัฒนาไปมาก แต่ทุกวันนี้ มีเยาวชนและผู้ใหญ่กว่า 773 ล้านคน ที่ยังประสบปัญหาขาดทักษะการรู้หนังสือขั้นพื้นฐาน (ข้อมูลจาก: UNESCO)

การให้ความสำคัญกับการรู้หนังสือถือเป็นประเด็นสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติและสังคมโลก ทั้งนี้ เนื่องจากการรู้หนังสือเป็นการให้อิสรภาพแก่ผู้คน เพื่อให้แสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง อันได้แก่ อิสรภาพจากความไม่รู้ อิสรภาพจากความยากจน อิสรภาพจากความเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะหากมีความรู้และสามารถอ่านออกเขียนได้ ผู้คนก็จะสามารถปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมเพื่อดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว สามารถหางานทำและมีรายได้ รวมทั้งยังช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเสรีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วันระลึกปีสากลแห่งการรู้หนังสือในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยนั้น กระทรวงศึกษาธิการให้กำหนดให้วันที่ 8 กันยายนของทุกปีเป็นวันระลึกปีสากลแห่งการรู้หนังสือ ประเทศไทยจึงได้จัดกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการรู้หนังสือและการศึกษาตลอดชีวิต (Literacy and Lifelong Learning)

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีเปิดงานปีหนังสือแห่งชาติ 4 กุมภาพันธ์ 2515

“หนังสือเป็นเสมือนคลังที่รวบรวมเรื่องราว ความรู้ความคิด วิทยาการทุกด้านทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ได้เรียนรู้ ได้คิดอ่าน และเพียรพยายามบันทึกรักษาไว้ด้วยลายลักษณ์อักษร หนังสือแพร่ไปถึงที่ใด ความรู้ความคิดก็แพร่ไปถึงที่นั่น หนังสือจึงเป็นสิ่งมีค่า และมีประโยชน์ที่จะประมาณมิได้ ในแง่ที่เป็นบ่อเกิดแห่งการเรียนรู้ของมนุษย์”

 

ไอเดียกิจกรรมในวันการรู้หนังสือสากล

ในวันที่ 8 กันยายน ซึ่งเป็นวันการรู้หนังสือสากล หรือในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน คุณครู และคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง อาจเน้นความสำคัญของหัวข้อทักษะในการอ่านและเขียนเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความตระหนักในชั้นเรียน โดยเฉพาะในปีนี้ เนื่องจากการเรียนในโรงเรียนหลายแห่งทั่วโลกต้องหยุดชะงักหรือสะดุดไปเนื่องจากการระบาดของโควิด-19

ผู้สอนอาจพูดคุยกับนักเรียนในหัวข้อความสำคัญของทักษะการอ่านและเขียน รวมทั้งอาจให้นักเรียนลองจินตนาการว่าชีวิตเราจะเป็นอย่างไรหากไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ และลองพูดคุยว่าการศึกษาและการรู้หนังสือนั้นส่งผลต่อชีวิตของเราอย่างไร ทั้งในด้านการเรียน การทำงานในอนาคต และแง่ต่าง ๆ ของการใช้ชีวิต

นอกจากนี้ ผู้สอนอาจให้นักเรียน รีวิวหรือพูดถึงหนังสือโปรดของตัวเอง แต่งนิทานหรือเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองสนใจ พร้อมกับอ่านนิทาน หรือบทความสั้น ๆ ร่วมกัน

สำหรับเด็ก ๆ ที่อยากแสดงทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ คุณครูและผู้ปกครองอาจลองให้เด็ก ๆ ออกแบบปกหนังสือ หรือออกแบบที่คั่นหนังสือ ของตัวเองได้

สื่อการสอนสำหรับวันการรู้หนังสือสากล

สื่อการสอน Internationl Literacy Day 2021 (8 กันยายน)

ขอบคุณที่มา https://www.twinkl.co.th/teaching-wiki/wan-kar-ru-hnangsux-sakl-international-literacy-day

ภาพประกอบ